หน้าเพจนี้สำหรับผู้ที่ได้รับการใส่ห่วงอนามัยจากโรงพยาบาลจุฬาฯ
คลิกที่นี่ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับห่วงอนามัย
คลิกที่นี่ เพื่อทำนัดคลินิกวางแผนครอบครัว รพ.จุฬาฯ
วิธีดูแลแผลห่วงอนามัยแบบฮอร์โมน
คุณจะได้รับบัตรประจำตัวจากเจ้าหน้าที่หลังใส่ห่วงอนามัย
ในบัตรจะระบุวันที่ใส่ห่วง วันครบกำหนดถอดห่วง และชนิดห่วงอนามัยที่คุณได้รับ
โปรดตรวจบัตรสอบอย่างละเอียดและเก็บไว้เพื่อเป็นข้อมูลส่วนตัว
การตรวจสอบสายห่วง: หลังจากใส่ห่วงอนามัย ให้คุณตรวจสอบสายห่วงโดยการใช้นิ้วมือสอดเข้าในช่องคลอด จะคลำพบไหมเส้นบางๆในช่องคลอด ให้ตรวจสอบสายห่วงทุกครั้งหลังประจำเดือนหมดแม้อาการปกติ และตรวจสอบซ้ำหากรู้สึกว่ามีอาการปวดหน่วงท้องมาก
หลังจากที่ใส่ห่วงอนามัยแบบฮอร์โมน คุณอาจมีอาการดังนี้
ปวดหน่วงท้องน้อย - หลังใส่ห่วงอนามัยอาจมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยคล้ายปวดท้องประจำเดือน อาจมีอาการเจ็บบริเวณท้องน้อยได้ อาการปวดจะค่อยๆลดลงและจะหายไปเองใน 3-7 วัน
วิธีดูแล: หากมีอาการปวด สามารถทายาแก้ปวดได้ สามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ โดยเมื่อทานยาอาการจะหายไปและเมื่อยาหมดฤทธิ์อาการปวดอาจกลับมา จนกว่าร่างกายจะปรับตัวเข้าได้กับห่วงเลือดออกกระปริดกระปรอย - ห่วงอนามัยแบบฮอร์โมนจะทำให้ประจำเดือนปกติของร่างกายหยุดไป เป็นกลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ซึ่งไม่อันตราย อาจมีเลือดออกไม่ตรงรอบประจำเดือน อาการเหล่านี้ไม่อันตรายต่อสุขภาพ ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของการคุมกำเนิด ไม่มีผลต่อสุขภาพระยะยาวค่ะ โดยสามารถมีทั้งประจำเดือนรอบสั้นลง รอบยาวขึ้น เลือดออกเป็นหยดไม่เป็นรอบหลายวัน หรือประจำเดือนหายไปเลยนานๆ ออกเป็นหยดนานๆที ได้ทุกแบบเลย อาการนี้ไม่มีอันตรายและไม่น่ากังวล อาการเลือดออกจะลดลงหลังจากที่ร่างกายปรับตัวเข้ากับห่วงอนามัย เมื่อใส่ห่วงอนามัยเกิน 6 เดือนบางคนจะไม่มีประจำเดือน ซึ่งไม่อันตราย
วิธีดูแล: หากเลือดออกไม่ตรงรอบสร้างความรำคาญสามารถปรึกษาเพื่อแก้ไขอาการได้ หากเลือดออกแล้วไม่รู้สึกรำคาญ สามารถสังเกตอาการได้อย่างปลอดภัย หากประจำเดือนขาดไม่จำเป็นต้องกังวลประจำเดือนมามาก - อาจมีเลือดออกมากขึ้นในช่วงแรกระหว่างร่างกายปรับตัวเข้ากับห่วงอนามัย อาการนี้ไม่อันตราย และโดยส่วนใหญ่จะค่อยๆลดลงเมื่อร่างกายปรับตัวได้หลังใส่ห่วง 3-6 เดือน
วิธีดูแล: สังเกตอาการเลือดออก หากเลือดออกไม่ตรงรอบสร้างความรำคาญสามารถปรึกษาเพื่อแก้ไขอาการได้ หากเลือดออกแล้วไม่รู้สึกรำคาญ สามารถสังเกตอาการต่อได้อย่างปลอดภัย
หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมิน
(หากมีอาการรุนแรงหรือฉุกเฉิน ให้พบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด)
รู้สึกว่าห่วงหลุด เห็นห่วงหลุดออกมาจากช่องคลอด คลำตัวห่วงได้ในช่องคลอด
มีอาการของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เช่น ปวดหน่วงท้องน้อยมากกว่าปกติ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ มีตกขาวลักษณะกลิ่นแรง ข้นขึ้น หรือเปลี่ยนไปจากปกติ ไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน
สงสัยว่ามีการตั้งครรภ์
ต้องการถอดห่วง ต้องการมีบุตร
ข้อควรรู้หลังใส่ห่วงอนามัยแบบทองแดง
ฤทธิ์คุมกำเนิด
ห่วงอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถึง 99.9%
ห่วงอนามัยแบบฮอร์โมนจะคุมกำเนิดทันทีถ้าใส่ภายใน 7 วันแรกของรอบเดือน ถ้าใส่ในวันอื่นๆห่วงจะต้องใช้ถุงยางอนามัยใน 7 วันแรกหลังใส่ เมื่อครบ 7 วันหลังใส่ห่วงอนามัยจะเริ่มคุมกำเนิดได้
โรคติดเชื้อ - ห่วงอนามัยคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนคู่นอน หรือมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ แนะนำให้ใส่ถุงยางอนามัยร่วมด้วย
ผลข้างเคียง - ห่วงอนามัยแบบฮอร์โมนจะกดประจำเดือนปกติของร่างกาย ซึ่งเป็นกลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ ไม่อันตราย ไม่มีผลต่อสุขภาพ ในบางกรณีอาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอย เลือดออกไม่ตรงรอบ หากกังวลสามารถปรึกษาได้ตามฟอร์มด้านล่าง
คำถามที่พบบ่อย
(คลิกที่คำถามเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม)